รัฐบาลชิลีเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายในช่วงเผด็จการ

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันผู้สูญหายสากล ประธานาธิบดี กาเบรียล บอริก ของชิลี ได้เซ็นอนุมัติแผนการระดับชาติ เพื่อค้นหาผู้สูญหายในช่วงระหว่างการปกครองระบอบเผด็จการของนายพลเอากุสโต ปิโนเชต์ ตั้งแต่ปี 1973-1990 ประธานาธิบดีบอริก กล่าวว่า นี่ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะส่งมอบคำตอบเกี่ยวกับชะตากรรมของผู้สูญหาย ให้แก่ครอบครัวของเหยื่อ และรัฐบาลพร้อมจะทำทุกวิถีทางเพื่อหาคำตอบนั้น

รัสเซียประกาศประจำการขีปนาวุธพิฆาตรุ่น “ซาร์มัต” คำพูดจาก สล็อต777

“หมอสุภัทร” ยินดี “หมอชลน่าน” นั่งเก้าอี้ รมว.สาธารณสุขคนใหม่

นี่ถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลมีส่วนร่วมในการค้นหาผู้สูญหาย นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองระบอบเผด็จการของปิโนเชต์ในปี 1990 โดยก่อนหน้านี้มีเพียงครอบครัวของเหยื่อเท่านั้นออกมาพยายามเรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้ที่หายตัวไปในแผนการนี้

รัฐบาลชิลีจะรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สูญหายจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านมนุษยชน เพื่อสืบหาร่องรอยของบุคคลสูญหายเหล่านั้น พร้อมทั้งจะจัดสรรงบประมาณสำหรับการสำรวจสถานที่ที่อาจใช้ฝังศพของเหยื่อ คาดว่าผู้เสียชีวิตจำนวนมากถูกนำไปฝังไว้ที่ทะเลทรายอากาตามา ส่วนบางศพก็ถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้การค้นหาร่างผู้เสียชีวิตค่อนข้างยาก

โดยย้อนไปเมื่อวันที่ 11 กันยายนปี 1973 กองทัพชิลีที่นำโดยนายพลเอากุสโต ปิโนเชต์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้ายึดอำนาจจากซัลบาดอร์ อาเญนเด ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้น และแต่งตั้งตนเองขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีของประเทศ

ในช่วงเวลานั้น ปิโนเชต์ได้จับกุมฝ่ายที่ต่อต้านเขาไปยังสถานกักกัน มีหลายคนที่ถูกทรมาน ผู้ที่ต่อสู้ขัดขืนก็ถูกสังหารทันที และบางคนก็ถูกอุ้มฆ่า

ผ่านไป 15 ปี จนกระทั่งปี 1988 ปิโนเชต์ยอมให้มีการลงประชามติ เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเลือกว่าจะให้เขาสืบทอดอำนาจต่อหรือไม่ และผลที่ออกมาคือชาวชิลีไม่ต้องการให้เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป ฝ่ายปิโนเชต์ยอมรับผลการลงมติในครั้งนั้น และก้าวลงจากตำแหน่งในปี 1990 ถือเป็นการคืนระบอบประชาธิปไตยให้กับประเทศอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม เขายังคงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดต่อไปอีก 7 ปี และต่อมาก็ได้เป็นวุฒิสภาของชิลี ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่ทำให้เขาไม่ต้องรับโทษใดๆ ที่จะตามมาหลังจากทำรัฐประหาร แม้กระนั้น ในปี 1998 ปิโนเชต์ก็ถูกศาลสเปนสั่งฟ้องในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยธรรมและถูกส่งตัวไปกักตัวในสหราชอาณาจักร

จนกระทั่งในปี 2000 แม้ว่าเขาจะได้กลับบ้านประเทศชิลีแล้ว แต่ปิโนเชต์ยังต้องเผชิญกับการต่อสู้ทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เมื่อรัฐบาลชิลีได้พยายามเอาผิดเขาด้วยข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แม้จะผ่านมาเกือบ 50 ปีแล้ว แต่ครอบครัวของเหยื่อและผู้ที่รอดชีวิตยังคงเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหยื่อผู้สูญหายทั้งหมด รัฐบาลชิลีคาดว่า มีเหยื่อที่ถูกจำคุก ทรมาน ถูกสังหารและสูญหายรวมแล้วมากถึง 40,175 คน ในจำนวนนี้ 1,469 คนถูกระบุว่าถูกบังคับให้สูญหาย โดยผู้สูญหาย 1,092 คนหายตัวไปหลังจากถูกคุมขังและอีก 377 รายถูกประหารชีวิต แต่ศพกลับไม่เคยถูกส่งกลับมา อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลสูงสุดของชิลี ได้ตัดสินให้อดีตทหารที่เกี่ยวข้องกับการปกครองเผด็จการ 7 คน รับโทษจำคุก 25 ปี ฐาน ในข้อหาลักพาตัวและฆาตกรรม วิกเตอร์ จารา นักร้องชาวชิลีในปี 1973 ขณะที่ โจน จารา ภรรยาและลูก ๆ ของเขาได้รับเงินชดเชยคนละ 150 ล้านเปโซชิลีหรือกว่า 6 ล้านบาท หลังจากต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมมานานถึง 14 ปี โดยมีรายงานว่า เขาถูกทำร้ายร่างกายระหว่างที่ถูกกักกันตัว และร่างของเขามีร่องรอยกระสุนถึง 44 จุด คอและกระดูกส่วนอื่นๆ หัก และหลังเสียชีวิต ศพของเขาก็ถูกนำไปทิ้งในคูน้ำใกล้กับสุสานหลักของกรุงซันติอาโก

ประวัติ “ชลน่าน ศรีแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่

เช็กสถิติวอลเลย์หญิงไทย ก่อนดวล เกาหลีใต้ รอบ 8 ทีมศึกชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023

By admin